1

ข้อมูล นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์


ตู้อบแห้งและกลั่นความชื้นโดยรังสีอาทิตย์แบบเทอร์โมไซฟอนต์
ตู้อบที่ใช้ในการศึกษาทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติของกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ ผ่านลงมายังตู้อบได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากตู้อบเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในตู้กระจกจนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้อากาศมีความหนาแน่นน้อยลงหรือน้ำหนักเบาขึ้น และลอยตัวขึ้นไปบริเวณส่วนบนของตู้อบผ่านวัสดุที่ต้องการอบแห้งพาความชื้นไปควบแน่นที่บริเวณผิวกระจกด้านบน และด้านหน้า ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศต่ำลง มีความหนาแน่นมากขึ้นเคลื่อนที่ลงมาทดแทนอากาศร้อนที่เคลื่อนที่ขึ้นไปส่วนบนของตู้อบ ตามหลักการพาความร้อนตามธรรมชาติในลักษณะเช่นนี้ ประกอบกับรูปทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน ของตู้อบทำให้เกิดการไหลเวียนขึ้นของอากาศในตู้ ในขณะที่น้ำที่ควบแน่นจะถูกระบายออกจากตู้อบผ่านทางท่อทางออก นอกจากนี้บริเวณด้านล่างของตู้อบติดตั้งกระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ด้านข้างและด้านหน้า ตามลำดับ สำหรับรวมรังสีให้ตกกระทบบริเวณผิวดูดรังสีบริเวณด้านล่างของตู้อบ เพื่อเพิ่มความเข้มของรังสีอาทิตย์ การดูดซับรังสีอาทิตย์ และแผ่ออกในปริมาณที่สูงขึ้น เป็นการเพิ่มศักยภาพเชิงอุณหภูมิสำหรับการอบแห้ง ตามลำดับลักษณะของตู้อบ มีรูปทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีรายละเอียดดังนี้ ขนาดห้องอบแห้งเท่ากับ 80 cm x 70 cm x 100 cm (กว้าง x ยาว x สูง) ภายในมีแผ่นอะครีลิคใส ความหนา 2 mm ขนาด 80 cm x 70 cm จำนวน 1 แผ่น ใช้เป็นแผ่นกั้นระหว่างห้องอบกับบริเวณระบายความร้อนด้านหน้าของตู้ที่ทำจากกระจกใสหนา 5 mm ขนาด 70 cm x 90 cm โดยมีแผ่นอะ ครีลิคใสทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานทำมุม 17 องศาหนา 2 mm ขนาด 70 cm x 95 cm จำนวน 2 แผ่นติดตั้งตรงบริเวณด้านข้างซ้าย-ขวาของตู้อบ ด้านบนปิดด้วยแผ่นกระจกใสหนา 5 mm ขนาด 80 cm x 70 cm ทำมุม 17 องศา กับแนวระดับ เป็นส่วนที่ใช้รับรังสีอาทิตย์ ในตู้อบติดตั้งตะแกรงอบแห้งขนาด 1 mesh ทำจากวัสดุอลูมิเนียมขนาด 50 cm x 70 cm จำนวน 3 ชั้น เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้สะดวก และใช้สำหรับอบแห้งปลามางได้สูงสุดชั้นละ 1 kg (น้ำหนักปลาสด) ด้านล่างของตู้ วางกระสีดำปูบริเวณปูพื้นขนาด 65 cm x 70 cm ของตู้อบ
หัวหน้าโครงการ

ระบุผู้ร่วมโครงการภายใน

 

ระบุผู้ร่วมโครงการภายนอก

10
2558