1

ข้อมูล นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์


การพัฒนาเครื่องแกะและปอกกลีบกระเทียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Array ( [0] => Array ( [0] => 42S22 [SQLSTATE] => 42S22 [1] => 207 [code] => 207 [2] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Invalid column name 'ทุนท้าทายไทย'. [message] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Invalid column name 'ทุนท้าทายไทย'. ) [1] => Array ( [0] => 42000 [SQLSTATE] => 42000 [1] => 16945 [code] => 16945 [2] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]The cursor was not declared. [message] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]The cursor was not declared. ) ) 1
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขงและแม่น้ำศรีสงคราม จึงได้มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาน้ำจืด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาส้มตัว ซึ่งปลาส้มเป็นอาหารที่ทำมาจากปลาตะเพียนเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ เป็นการถนอมอาหารที่ขึ้นชื่อของบ้านท่าบ่อสงคราม ตำบลบ้านท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม [1] เป็นการแปรรูปอาหารจากปลา โดยใช้วิธีการถนอมอาหารคือการทำปลาส้ม (ปลาตะเพียน) กลุ่มแปรรูปอาหารจากปลาบ้านท่าบ่อ หมู่ที่ 4, 6 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีทั้งหมด 10 กลุ่มผู้ประกอบการแบบเดี่ยว ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับวิสาหกิจชุมชน การแปรรูปอาหารจากปลาโดยใช้วิธีการถนอมอาหาร คือการทำปลาส้ม (ปลาตะเพียน) ใช้เกลือและกระเทียมเป็นส่วนผสมหลัก ในการผลิตแต่ละสัปดาห์จะต้องใช้กระเทียมแบบกลีบที่ปอกเปลือกออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฉลี่ยครั้งละ 50 กิโลกรัม ถ้าใช้กระเทียม จำนวน 10 กลุ่มผู้ประกอบการแบบเดี่ยว จะต้องใช้กระเทียมทั้งหมด จำนวน 500 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในการผลิต การแยกกลีบกระเทียมเพื่อการบริโภคหรือใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ปัจจุบันใช้แรงงานคนเป็นหลักต้องใช้ระยะเวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยการแกะกลีบกระเทียมด้วยแรงงานคนได้ประมาณ 15 - 20 กิโลกรัมต่อวันต่อคน พบว่าความต้องการกระเทียมกลีบทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 100 - 300 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งอัตราค่าจ้างในการแกะกลีบกระเทียมโดยแรงงานคนคิดค่าจ้างกิโลกรัมละ 5 บาท และไม่สามารถควบคุมคุณภาพ ปริมาณได้เท่าที่ควร ทำให้ต้องเสียต้นทุนในการจ้างแรงงาน การสัมผัสกลีบกระเทียมนาน ๆ พบว่ากระเทียมมีสารสกัดบิวทานอล ทำให้เกิดอาการหอบหืดและโพรงจมูกอักเสบเมื่อสูดดมหรือสัมผัสกระเทียมเป็นเวลานาน ระยะเวลา 3 - 5 ปี และมีบางรายมีอาการแพ้ชนิดรุนแรง ถ้าคิดเป็นปริมาณในการแกะกลีบกระเทียมสำหรับผู้ประกอบการแบบเดี่ยว 1 กลุ่ม สามารถผลิตปลาส้มได้เฉลี่ย 1,000 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ถ้าใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็กมาช่วยผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการไม่ต้องสัมผัสกระเทียมเป็นเวลานาน ๆ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ การส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลาให้ได้รับการยอมรับในระดับที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนถึงระดับสามารถพัฒนาในการส่งออกเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผนวกกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม วิทยาลัยธาตุพนมร่วมกับพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบ ได้ทำการแก้ปัญหาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องแกะและปอกกลีบกระเทียม ที่สามารถผลิตได้ไม่น้อยกว่า 25 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีขนาดที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เครื่องแกะและปอกกลีบกระเทียมสู่ผู้ประกอบการ
หัวหน้าโครงการ

ระบุผู้ร่วมโครงการภายใน

 

ระบุผู้ร่วมโครงการภายนอก

สวก
131300
2560
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
81770
https://www.ipthailand.go.th/th/patent-001.html